วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในจังหวัดเชียงราย


                                 พระตำหนักดอยตุง
       ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 บ้านมูเซอลาบา ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย บริเวณสันเขาของเทือกดอยนางนอน ระดับความสูงประมาณ 1,200 ม. เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาดอยตุง


       สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระราชกระแสว่า หลังพระชนมายุ 90 พรรษา จะไม่เสด็จไปประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ จึงได้เลือกดอยตุง เป็นที่ประทับแปรพระราชฐาน เมื่อทรงทอดพระเนตรพื้นที่ เมื่อต้นปี พ.ศ. 2530 ก็ทรงพอพระราชหฤทัย และมีพระราชดำริจะสร้าง "บ้านที่ดอยตุง" พร้อมกันนี้ ยังมีพระราชกระแสรับสั่งว่าจะ " ปลูกป่าบนดอยสูง" จึงกำเนิดเป็นโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้น พระตำหนักดอยตุงเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2530


       พระตำหนักแห่งนี้ ถือเป็นบ้านหลังแรกของสมเด็จย่า สร้างขึ้นโดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ที่เน้นความเรียบง่าย และการใช้ประโยชน์ มีลักษณะสถาปัตยกรรม แบบล้านนากับบ้านพื้นเมืองของสวิส สร้างบนไหล่เนิน มองเห็นทิวทัศน์ได้ไกลสุดสายตา เป็นพระตำหนักสองชั้น และชั้นลอย ชั้นบนแยกเป็นสี่ส่วน แต่เชื่อมต่อกันเป็นอาคารหลังเดียว และมีกาแล และไม้แกะสลักเป็นเชิงชายลายเมฆไหล ที่อ่อนช้อยโดยรอบ ภายในตำหนักล้วนใช้ไม้สน และไม้ลังที่ใส่สินค้า เป็นเนื้อไม้สีอ่อนที่สวยงาม ภายในมีเพดานดาวบริเวณท้องพระโรง สลักขึ้นจากไม้สนภูเขา เป็นกลุ่มดาวต่างๆ ล้อมรอบระบบสุริยะ ส่วนบริเวณผนังเชิงบันได แกะสลักเป็นพยัญชนะไทย พร้อมภาพประกอบ

        ภายหลังการสวรรคตของสมเด็จย่า พระตำหนักยังได้รับการอนุรักษ์ ไว้เป็นอย่างดี และบางครั้งที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชกรณียกิจที่จังหวัดเชียงราย ก็จะเสด็จมาประทับ ณ พระตำหนักแห่งนี้
          
                            ภูชี้ฟ้า

        เป็นส่วนหนึ่งของเทือกดอยผาหม่น ที่เป็นพรมแดนไทย-ลาว ด้าน จ.เชียงราย-พะเยา ลักษณะเป็นหน้าผาหินตั้ง อยู่บนเส้นกั้นพรมแดนพอดี ในอดีต เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของ พคท. ด้วยสภาพภูมิประเทศที่สูงชัน จึงเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญ ชาวลาวและชาวไทย ในพื้นที่เรียกผาหินที่ชี้เหยียดตรงขึ้นไปบนฟ้าว่าภูฟ้า เมื่อปัญหาด้านความมั่นคงคลี่คลาย มีการตัดถนนขนานแนวชายแดน ไทย-ลาว จากบ้านผาตั้ง ภูชี้ฟ้า ไปถึง อ.เชียงคำ ภูชี้ฟ้าจึงเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม บนยอดภูชี้ฟ้า เป็นจุดที่ยื่นจากแนวเขตพรมแดน จึงไม่สามารถระบุชัดได้ว่า อยู่ในเขตไทยหรือลาว แต่ทางขึ้นสู่ยอดภูชี้ฟ้านั้นอยู่ในเขตไทย เคยมีการปักธงชาติไทยบนปลายสุดของหน้าผา แต่ในวันถัดมา ทหารลาวก็จะนำธงลาวมาปักเคียงคู่กันด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย จึงห้ามนักท่องเที่ยวพักแรมบนภูชี้ฟ้า



       แหล่งท่องเที่ยว: ภูชี้ฟ้า เป็นยอดเขาสูงที่สุดในเทือกเขาดอยผาหม่น สูงจากระดับน้ำทะเล 1,628 เมตร ด้านที่ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีหน้าผาสูงชัน เป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุด ในฤดูหนาวจะมีทิวทัศน์สวยงามเป็นพิเศษ นักท่องเที่ยวส่วนมากจะมาค้างแรมบริเวณบ้านร่มฟ้าทองทางห่างจากจุดชมวิวประมาณ 1.5 กิโลเมตร แล้วจะเดินขึ้นภูชี้ฟ้าเพื่อไปชมวิวตอนเช้ามืด ระหว่างทางจะพบแปลงปลูกป่านางพญาเสือ ออกดอกบานสะพรั่งสวยงาม (เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์) และในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ต้นเสี้ยวดอกขาวรอบภูชี้ฟ้าจะออกดอกบานเต็มเชิงเขา กิจกรรม : ชมพรรณไม้ แค็มป์ปิ้ง ชมทิวทัศน์ (ผาชี้ฟ้า เป็นหน้าผาหินที่มีลักษณะโดดเด่น คือ คล้ายนิ้วชี้ที่ชี้ตรงออกไปยังทิศตะวันออก ภูชี้ฟ้าอยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,628ม. จากระดับน้ำทะเล หน้าผาหินเป็นทางลาดชัน ปกคลุมด้วยหญ้า ไม้พุ่ม และโขดหิน ไม่มีไม้ใหญ่ขึ้นเลย สามารถเดินลัดเลาะไปจนถึงสุดปลายของหน้าผา ที่ยื่นออกไปได้ แต่จุดที่นักท่องเที่ยวนิยมถ่ายภาพ จะเป็นหมู่หินใหญ่ริมหน้าผา ก่อนถึงปลายสุดของภูชี้ฟ้าประมาณ 300 ม. ชมทะเลหมอก จากภูชี้ฟ้า สามารถมองลงไปเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขา ในเขต ต.เชียงตอง ฝั่งลาว และเทือกเขาสลับซับซ้อน ไกลออกไปลิบๆ คือแม่น้ำโขง ที่ไหลขนานไปกับเทือกดอยผาหม่น ในช่วงเช้าตรู่ หุบเขาเบื้องล่างจะปกคลุมด้วยสายหมอก ทิวทัศน์จะยิ่งงดงาม เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ภูชี้ฟ้าหันไปทางทิศตะวันออก จึงเป็นจุดชมพระอาทิตย์ที่ได้รับความนิยมมาก นักท่องเที่ยว จะออกจากที่พัก เริ่มเดินเท้าขึ้นไปยังจุดชมวิว ตั้งแต่ก่อนสว่าง)




                                                    วัดพระแก้ว

          วัดพระแก้ว เป็นจุดที่ค้นพบพระแก้วมรกต และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตเป็นเวลา 45 ปี ก่อนที่จะเอิญไปยังเชียงใหม่ วันนี้แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดป่าเยี้ย หลังพระอุโบสถมีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งซึ่งได้พังลงมาแล้วได้พบพระพุทธรูปลงรักปิดทององค์หนึ่งตกลงมาจากเจดีย์จึงได้อัญเชิญไปไว้วิหารหลวงได้ 2 เดือน ต่อมาปูนกระเทาะออกจึงเห็นเป็นแก้วสีเขียวทั้งองค์ หลังจากนั้นวัดนี้จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า วัดพระแก้ว ปัจจุบันเจดีย์องค์ดังกล่าวได้รับการบูรณะใหม่เป็นเจดีย์หุ้มทองจังโก๋เหลืองอร่ามทั้งองค์


          พระอุโบสถ์ ในวัดพระแก้วมีความงดงามมาก ในปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานของพระประธาน คนเชียงรายเรียกกันว่า "พระเจ้าล้านทอง" เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเชียงรายเคารพนับถือเป็นอันมาก แต่เดิมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเจ้าล้านทอง ต่อมามีสภาพเป็นวัดร้างจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดดอยงำเมือง และได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานที่วัดพระแก้วเมื่อปี 2504

           พระแก้วหยก เป็นพระพุทธรูปหยกที่คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวเชียงรายร่วมกันสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุครบ 90 พรรษา เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2533 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 20 ก.ย. พ.ศ. 2534 ชาวเชียงรายได้อัญเชิญมาประดิษฐานหอพระ ณ วัดพระแก้ว เรียกว่า พระหยกเชียงราย ปัจจุบัน วัดพระแก้วมีฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ โดยได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2521


อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งราย

        อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช ตั้งอยู่ที่ถนนห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช ถนนเชียงราย-แม่จัน (ติดถนนซุปเปอร์ไฮเวย์) ในเขตเทศบาลนครเชียงราย


        ประวัติพ่อขุนเม็งรายมหาราช กษัตริย์ผู้สร้างเมืองเชียงราย
        พ่อขุนเม็งราย เป็นราชโอรสของพระเจ้าลาวเมงแห่งราชวงศ์ ลั๊วจังกราชผู้ครองหิรัญนครเงินยาง กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมืองหรือพระนางเทพคำขยาย ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุนเอกศกจุลศักราช 601 ตรงกับพุทธศักราช 1781

        ในปี พ.ศ. 1805 ขณะยกทัพไปถึงเมืองลาวกู่เต้าและประทับอยู่ที่นั่น เผอิญช้างทรงของพระองค์ซึ่งทอดไว้ที่ป่าหัวดอยทางทิศตะวันออก หลุดพลัดไป พระองค์จึงเสด็จตามรอยช้างไปจนถึงดอยจอมทอง ริมฝั่งแม่น้ำกก ทอดพระเนตรเห็นภูมิประเทศเป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้โปรดให้สร้างพระนครขึ้น โดยก่อกำแพงโอบรอบ เอาดอยจอมทองไว้ภายในขนานนามว่า เมืองเชียงราย แล้วให้ย้ายราชธานีจากเมืองหิรัญนครเงินยาง มาตั้งอยู่ที่เชียงรายนับแต่นั้นมา

        พ่อขุนเม็งรายสวรรคตขณะเสด็จประพาสกลางเมืองเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1860 รวมพระชนม์มายุได้ 80 พรรษา พญาไชยสงครามพระราชโอรสได้ถวายพระเพลิงพระศพพญามังรายมหาราช และอัญเชิญพระอัฐิของพญามังรายมาประดิษฐาน ณ วัดงำเมือง ซึ่งได้บรรจุพระอัฐิของพญามังรายไว้ใน สถูป (กู่) เรียกว่า กู่พญามังรายมหาราช

        ด้วยพระราชกรณียกิจที่ทรงประกอบนานัปการ ด้วยพระอัจฉริยะและด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ที่มีต่ออาณาประชาราษฎรตลอดพระชนม์ชีพ จึงได้รับเทิดพระนามให้ทรงเป็นมหาราชอีกพระองค์หนึ่งที่คนทั่วไปรู้นักในพระนามพ่อขุนเม็งรายมหาราช มหาราชแห่งแคว้นลานนา…ผู้สร้างเมืองเชียงราย




                               วนอุทยานดอยกาดผี

         วนอุทยานดอยกาดผี ตั้งอยู่บริเวณบ้านห้วยชมภู ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ลาวฝั่งซ้ายและแม่กกฝั่งขวา ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ 6,250 ไร่ เป็นแหล่งที่มีทิวทัศน์สวยงามที่สำคัญของราษฎรในท้องถิ่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาว ตลอดจนเทศกาลและประเพณีต่างๆ





         กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาเห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะโดดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เพื่อเป็นการสงวนคุ้มครองพื้นที่ให้คงอยู่ตลอดไป เพื่อประโยชน์เป็นแหล่งศึกษาวิจัยค้นคว้า และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน รวมทั้งเพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมตลอดจนความหลากลายทางชีวภาพ สำหรับเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและอยู่อาศัยของสัตว์ป่า แหล่งอาหาร แหล่งนันทนาการ และการท่องเที่ยวทางธรรมชาติของประชาชน จึงได้นำเรื่องเรียนปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายยงยุทธ ติยะไพรัช) ให้ความเห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2549 และได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานดอยกาดผี เนื้อที่ 6,250 ไร่ ตามประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่ 1509/2549 ลงวันที่ 29 กันยายน 2549



        ลักษณะภูมิประเทศ
        ลักษณะทั่วไปเป็นเทือกเขาสูง ทอดตัวในแนวเหนือ-ใต้ พื้นที่ลาดเอียงไปทางทิศตะวันตก โดยมีความลาดชันประมาณ 30-45 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 800-1113 เมตร



        ลักษณะภูมิอากาศ
        สภาพอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 12 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37.7 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 1,805 มิลลิเมตร โดยจะมีช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม และช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์



       พรรณไม้และสัตว์ป่า
       พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ โดยมีไม้ยืนต้น กระจายเต็มพื้นที่ และมีไม้สักปะปนคละกับไม้อื่น เช่น เสี้ยว ก่อ ทะโล้ นอกจากนั้นยังมีพืชพวกกลุ่มเฟิน และกล้วยไม้หลากพันธุ์ขึ้นอยู่ตามบริเวณยอดดอยกาดผี



       สัตว์ป่าประกอบด้วย นกกระปูด นกกางเขนดง นกปรอดหัวโขน นกกะราง นกแอ่นบ้าน ไก่ป่า กระต่ายป่า อ้นเล็ก กระจ้อน กระแตธรรมดา กระรอก งูชนิดต่าง ๆ ตุ๊กแก จิ้งจก จิ้งเหลน คางคกบ้าน และกบห้วย จิงโจ้น้ำ เป็นต้น




หาดเชียงราย (พัทยาน้อย)


         หาดเชียงราย (พัทยาน้อย) ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านป่างิ้ว หมู่ 4 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติ หรือนักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมมาเที่ยวกันมากพอสมควรโดยเฉพาะในช่วงเทศกาล เป็นจุดชมวิวและรับประทานอาหารและมีเรือนแพตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำกก ซึ่งแม่น้ำกกจะไหลผ่านเทือกเขาทำให้เกิดทิวทัศน์สวยงาม สามารถมองเห็นหินงอกที่เกิดจากถ้ำหินปูน บริเวณริมแม่น้ำกกจะมีร้านอาหารจำนวนมากให้บริการแก่นักท่องเที่ยว นอกจากนี้บริเวณหาดเชียงรายยังมีลานกีฬาและสวนสุขภาพไว้สำหรับออกกำลังกาย
          แม่น้ำกกนั้นเป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดมาจากภูเขาตอนเหนือของเมืองกก จังหวัดเชียงตุง ในรัฐฉานของพม่า ไหลเข้าสู่ประเทศไทยที่ช่องแม่น้ำกก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ แล้วผ่านเข้ามาที่จังหวัดเชียงราย จากนั้นก็สิ้นสุดที่แม่น้ำโขง ที่อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย




น้ำตกขุนกรณ์

            น้ำตกขุนกรณ์ ตั้งอยู่ ต.แม่กรณ์ อ.เมือง จ.เชียงราย เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของ จ.เชียงราย สภาพพื้นที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 700-1500 เมตรโดยใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 30 นาที เมื่อก้าวลงจากรถจะได้สัมผัสกับความร่มรื่นเย็นสบาย จากธรรมชาติที่คอยต้อนรับผู้มาเยือนตลอดเวลาที่นี่ทุกท่านจะได้พบกัน น้ำตกขุนกรณ์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นน้ำตกที่สูงที่สุด ใน จ.เชียงราย มีความสูงที่น้ำตกลงมาถึงด้านล่างประมาณ 70 เมตร





            นอกจากนี้ยังมี น้ำตกผีเสื้อ ที่สำรวจพบผีเสื้ออยู่หลายชนิด และ น้ำตกห้วยเล่าอ้าย ที่ยังคงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติอยู่ ตลอดทางเดินเข้าชมน้ำตก จะพบพันธุ์ไม้ต่างๆ ขึ้นให้เห็นอยู่มากมาย อาทิ ไม้ขนาดใหญ่ ไม้คลุมดิน กล้วยไม้ และเฟิร์น โดยมีเสียงน้ำ เสียงนก เสียงแมลงต่างๆ คอยช่วยเสริมให้บรรยากาศเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่ชอบสัมผัสธรรมชาติ ทางวนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ ยังมีเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติ เพื่อให้ได้ศึกษาธรรมชาติ โดยมีจุดที่น่าสนใจให้ศึกษาตลอดเส้นทางไม่ว่าจะเป็น กล้วยไม้หายาก รอยต่อป่า จุดเริ่มต้นของสายธาร ซึ่งหากได้เข้าไปสัมผัสอย่างใกล้ชิดแล้ว จะพบคุณค่าและความสำคัญของธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำหรับกางเต้นท์พักแรม และยังมีร้านค้าเล็กๆจำหน่ายสินค้าและอาหารไว้สำหรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น




       



          วัดร่องขุ่น

          ตั้งอยู่ในเขตตำบลคลองลานพัฒนา ตำบลคลองน้ำไหล ตำบลโป่งน้ำร้อน และตำบลสักงาม อยู่ห่างจากตัวจังหวัด ประมาณ 65 กม.ออกแบบและก่อสร้าง โดยอาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ. 2540 โดย บนพื้นที่เดิมของวัด 3 ไร่และขยายออกเป็น 12 ไร่อุโบสถ ประดับกระจกสีเงินแวววาววิจิตรงดงามแปลกตา ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง โดยเฉพาะภาพพระพุทธองค์หลังพระประธานซึ่งเป็นภาพที่ใหญ่งดงามมาก





        ความหมายของอุโบสถ
       สีขาวของโบสถ์แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า กระจกขาวหมายถึง พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์และจักรวาล



        สะพาน หมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ก่อนขึ้นสะพานครึ่งวงกลมเล็กหมายถึง โลกมนุษย์ย์ วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามาร หรือพระราหูหมายถึง กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์ ผู้ใดจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระพุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตนเองทิ้งลงไปในปากพญามาร เพื่อเป็นการชิระจิตเราให้ผ่องใสถึงจะเดินผ่านขึ้นไป บนสันของสะพานจะประกอบไปด้วยอสูรอมกัน 16 ตัว ข้างละ 8 ตัว อุปกิเลส 16 จากนั้นก็จะถึงกึ่งกลางสะพาน หมายถึง เขาพระสุเมระ เป็ฯที่อยู่องเทวดา ด้านล่างเป็นสระน้ำ หมายถึง สีนดรมหาสมุทร มีสวรรค์ตั้งอยู่ 6 ชั้นด้วยกัน ผ่านสวรรค์ 6 เดินลงไปสู่แผ่นดินของพรหม 16 ชั้น แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 16 ดอก รอบอุโบสถ ดอกที่ใหญ่สุด 4 ดอก ตรงทางขึ้นด้านข้างโบสถ์ หมายถึง ซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ ประกอบด้วยพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นสงฆ์สาวกที่เราควรกราบไหว้าบูชา



        ก่อนขึ้นบันได ครึ่งวงกลม หมายถึง โลกุตตรปัญญา บันไดทางขึ้น 3 ขั้น แทนอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ผ่านแล้วจึงขึ้นไปสู่แผ่นดินของอรูปพรหม 4 แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 4 ดอก และ บานประตู 4 บาน บานสุดท้ายเป็นกระจกสามเหลี่ยมแทนความว่าง (ความหลุดพ้น) แล้วจึงจะก้าวข้ามธรณีประตูเข้าวสู่พุทธภูมิ



        ภายในประกอบด้วยภาพเขียนโทนสีทองทั้งหมด ผนัง 4 ด้าน เพดาน และพื้นล้วนเป็นภาพเขียนที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมาร มุ่งเข้าสู่โลกุตรธรรม



        ส่วนบนของหลังคาโบสถ์ ผมได้นำหลักธรรมอ้นสำคัญยิ่งของการปฏิบัติจิต3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นำไสู่ความว่าง (ความหลุดพ้น)



        ช่อฟ้าเอก หมายถึง ศีล ประกอบด้วยสัตว์ 4 ชนิดผสมกัน แทน ดิน น้ำ ลม ไฟ ช้าง หมายถึง ดิน นาค หมายถึง น้ำ ปีกหงส์ หมายถึง ลม และหน้าอก หมายถึง ไฟ ขึ้นไปปกปักรักษาพระศาสนา บนหลัง ช่อฟ้าเอกเทินด้วยพระธาตุ หมายถึง ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ข้อ และ 84,4000 พระธรรมขันธ์



        ช่อฟ้าชั้นที่ 2 (บน) หมายถึง สมาธิ แทนด้วยสัตว์ 2 ชิด คือ หญานาคกับหงส์ เขี้ยวพญานาค หมายถึง ความชั่วในตัวมนุษย์ หงส์ หมายถึง ความดีงาม ศีลเป็นตัวฆ่าความชั่ว (กิเลส) เมื่อใจเราชนะเกิเลสได้ก็เกิดสมาธิ มีสติกำหนดรู้เกิดปัญญา



        ช่อฟ้าชั้นที่ 3 (สูงสุด) หมายถึง ปัญญา แทนด้วยหงส์ปากครุฑ หมอบราบนิ่งสงบไม่ปรารถนาใดๆ มุ่งสู่การดับสิ้นซึ่งอาสวะกิเวลภายใน



        ด้านหลังหางช่อฟ้าชั้นที่ 3 มีลวดลาย 7 ชิ้น หมายถึงโพชฌงค์ 7 ลาย 8 ชิ้นรองรับฉัตร หมายถึง มรรค 8 ฉัตรหมายถึงพระนิพพานลวดลายบนเชิงชายด้านข้างของหลังคาชั้นบนสุดแทนด้วยสังโยชน์ 10



         เสา 4 มุม ด้านข้างโบสถ์ คือ ตุง (ธง) กระด้าง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้าตามคติ
ล้านนา



         วัดร่องขุ่น ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัยโฆษิตพิพัฒน ์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย สร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่นรังสรรค์งานศิลปะที่งดงามแปลกตาผสานวัฒนะธรรมล้านนาอย่างกลมกลืนทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรรมฝาผนังขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของวัดคือพระอุโบสถถูกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไปหน้าบันประดับด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตาน่าสนใจมากภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง




                                 น้ำพุร้อนโป่งพระบาท

         น้ำพุร้อนโป่งพระบาท บ้านโป่งพระบาท ม.6 ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย เป็นน้ำพุร้อนตามธรรมชาติที่มีมานานแล้ว และได้มีการสำรวจอย่างจริงจังโดยขอให้สำนักงานทรัพยากรธรณีวิทยาเขต 3 ( เชียงใหม่ ) กรมทรัพยากรธรณี เข้าร่วมสำรวจคุณภาพของน้ำร้อน ต้นกำเนิดของน้ำพุร้อนเดิมบริเวณที่มีอยู่เป็นป่าไม้ไมยราพและแอ่งน้ำ และจุดที่พบน้ำร้อนเป็นลักษณะแอ่งน้ำร้อน (warm pool ) ที่มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 แอ่ง จากการสำรวจพบว่าอุณหภูมิร้อนผิวดินอยู่ระหว่าง 48-50 องศา และอุณหภูมิใต้ดินสูงประมาณ 125-156 องศา จากอุณหภูมิดังกล่าวสามารถที่จะพัฒนาทำเป็นแหล่งอาบน้ำอุ่นตามธรรมชาติเพื่อสุขภาพ ( Spa treatment ) หรือทำเป็นห้องอาบน้ำแร่ ( Balneology ) ซึ่งในประเทศจีน ญี่ปุ่น ยุโรปหรือในอเมริกา เชื่อกันว่าได้อาบน้ำหรือแช่ตัวในน้ำร้อนอุณหภูมิระหว่าง 42-45 องศา ทำให้การหมุนเวียนขอโลหิตในร่างกายดีขึ้น น้ำร้อนจะขยายรูขุมขนทำให้ร่างกายขับสิ่งสกปรกปะปนมากับเหงื่อได้ดีจะช่วยทำให้รู้สึกสดชื่น นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการปวดเมื่อยตามข้อกระดูกกล้ามเนื้อและกำมะถันที่อยู่ในน้ำพุร้อนจะช่วยรักษาโรคผิวหนังได้เป็นอย่างดีแต่น้ำร้อนที่พบในบ้านดู่ไม่สามารถที่จะนำมาบริโภคได้ เนื่องจากมีความเข้มข้นของฟลูออไรด์และซัลไฟด์สูงกว่ามาตรฐานน้ำแร่เพื่อการบริโภค



           น้ำแร่ในปัจจุบันที่มีการให้บริการอยู่ที่อยู่มีอุณหภูมิประมาณ 60 องศา มีการสร้างอาคารในการอาบน้ำแร่ในปี พ.ศ. 2540 โดยมีการให้บริการห้องอาบน้ำ 6ห้อง ปัจจุบันมีการสร้างอาคารหลังใหม่โดยได้รับงบประมาณจาก อบจ. จำนวน11 ห้อง ภายในมีห้องอาบน้ำขนาดใหญ่ 2 ห้องอัตราค่าบริการคือ ราคาห้องละ 20 บาทและต่อคนอีกคนล่ะ 10บาท ห้องอาบน้ำขนาดใหญ่ในอาคารหลังใหม่ อัตราค่าบริการ คนไทย 200 บาท ชาวต่างชาติ 500 บาท ห้องอาบน้ำขนาดเล็กคิดอัตราค่าบริการห้องละ 50-60 บาท ในการอาบน้ำแร่มีการการผสมน้ำเย็นก่อนที่จะให้นักท่องเที่ยวได้แช่ เพื่อปรับอุณหภูมิในการแช่ ปัจจุบันกำลังขอความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงรายในการออกแบบสถานที่สร้างและแนวทางการพัฒนาน้ำพุร้อนโป่งพระบาทให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญต่อไป และน้ำพุร้อนโป่งพระบาทยังได้เข้าร่วมโครงการ “ไทยล้านนา สปา ซิตี้” ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของน้ำพุร้อนทั้ง 9 แห่ง ทั่วจังหวัดเชียงรายได้รับการสนับสนุนจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคเหนือ เขต 2 จังหวัดเชียงราย กระทรวงกีฬาและนันทนาการ และกระทรวงสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย น้ำพุร้อนโป่งพระบาทเป็นน้ำพุร้อนแห่งหนึ่งที่มีการได้รับให้มีการได้รับการพัฒนาก่อน ได้แก่ น้ำพุร้อนป่าตึง อำเภอแม่จัน น้ำพุร้อนห้วยหมากเลียบ – ผาเสริฐ ตำบลดอยฮาง น้ำพุร้อนที่เวียงป่าเป้า และน้ำพุร้อนโป่งพระบาท ซึ่งคาดว่าภายหลังจากโครงการสำเร็จ น้ำพุร้อนโป่งพระบาทจะเป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ